วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Diary 11



Friday 24 April 2020

Time 12:30 - 15:30 o'clock


บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

1. การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
2. การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์
3. การวัดประเมินผล
4. ให้ความสนใจเด็ก
5. การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์

คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย

1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2. เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
3. ความสนใจรอบด้านครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรมีความสนใจกว้างรอบด้านสนใจกิจกรรมต่างๆ หลายๆ อย่างและไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ
4. อารมณ์ขัน อารมณ์ขันเป็นลักษณะสำคัญของคนมีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
5. สุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับครู
6. คุณสมบัติส่วนตัวของครูสอนเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ ควรเป็นคนที่มีรสนิยมดีการแต่งกายประณีต สวยงาม เหมาะสมกับวัย


การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดส่งเสริมความสร้างสรรค์

1. จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง (Brainstorming)
2. ให้เด็กเรียนรู้การสร้างสรรค์โดยการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการสร้างสภาวะสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองหลายรูปแบบ
3. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือกำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้
4. เปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอผลงานทุกคน
5. ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดหลากหลายด้านตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
6. ส่งเสริมความสามารถที่จะนำไปสู้การคิด การกระทำอย่างสร้างสรรค์





🍓Assessment (การประเมิน)🍓

🌺Our self :  ตั้งใจทำงาน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
🌺Friend : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม และส่งงานตรงเวลา
🌺Teacher : อาจารย์มีการเตรียมการสอนเตรียมกิจกรรมมาให้ทำเป็นอย่างดี





วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

Diary 10


Friday 17 April 2020

Time 12:30 - 15:30 o'clock


การเคลื่อนไหวและจังหวะ
หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

วัตถุประสงค์ของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก5. ให้เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีตามจังหวะ รวมทั้งเกิดทักษะ ในการฟังดนตรีหรือจังหวะต่างๆ6. พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม7. ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์8. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้9. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

ขอบข่ายเนื้อหาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

การเตรียมร่างกาย

วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย มี 2 ขั้น คือ
1. ให้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้มากน้อย เพียงใด
2. ขณะเคลื่อนไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ

ตัวอย่างการฝึกการเคลื่อนไหวพื้นฐาน

1.การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
1) ก้มศรีรษะ กลับตั้งตรง หงายศีรษะไปข้างหลัง กลบสู่ท่าตรง
2) เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า ชูขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
3) ยกมือทั้งสองแตะไหล่ ชูมือขึ้น กางออกแล้วกลับสู่ท่าตรง
4) เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้เปลี่ยนท่าใหม่โดย ไม่ให้ซ้ำกัน
2.การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
1) การเดิน
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- เดินไปรอบๆ บริเวณ โดยระวังไม่ให้ชนกัน
- เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ให้จำนวนก้าวน้อยครั้งที่สุด ฯลฯ
2) การวิ่ง
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- วิ่งไปให้ทั่วบริเวณโดยไม่ให้ชนกัน
- วิ่งไปข้างหน้าแล้ววิ่งถอยหลัง เมื่อได้ยินสัญญาณให้เปลี่ยนท่าสลับกัน ฯลฯ
3) การกระโดด
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- ให้เด็กกระโดดขาเดียวไปรอบๆ บริเวณ โดยสลับขาบ้าง ให้เหวี่ยงแขน ขยับไหล่ หรือขยับ ร่างกายส่วนอื่นไปด้วย



🍓Assessment (การประเมิน)🍓

🌺Our self :  ตั้งใจทำงาน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
🌺Friend : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม และส่งงานตรงเวลา
🌺Teacher : อาจารย์มีการเตรียมการสอนเตรียมกิจกรรมมาให้ทำเป็นอย่างดี




วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563

Diary 9

Friday 10 April 2020

Time 12:30 - 15:30 o'clock



ความหมายการคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นความคิดที่สามารถในการสังเคราะห์สามารถในวิเคราะห์และและมีความสามารถในนำไปปฏิบัติได้มีลักษณะเป็นความรวมความคิดหลายทางและมีลักษณะคล้ายๆกับกระบวนการแก้ ปัญหามีความแตกต่างเพียงกระบวนการแก้ปัญหามีนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เด่นชัดเฉพาะเรื่องแต่กระบวนการคิดสร้างสรรค์ จำเป็นที่บุคคลจะต้องรู้จักจินตนาการและถ้าขาดจินตนาการก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาทางความคิดสร้างสรรค์ได้ความคิดสร้างสรรค์ประการสำคัญผู้คิดนั้นจะต้องไม่ทุกข์ ไม่มีความรู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกบีบคั้น คิดตามความเป็นจริง คิดตรงกับสภาพแห่งตามที่เป็นจริงนั้น ในความคิดสร้างสรรค์จะต้องสร้างความสุขด้วย จึงจะเป็นความสร้างสรรค์ เป็นความคิดสร้างสุข โดยมีธรรมฉันทะเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการคิด

สมองกับการคิดของเด็กปฐมวัย

เด็กวัยทารกจนถึงสามขวบเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมากในการพัฒนาศักยภาพทางสมอง เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปิดรับข้อมูลการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าสมองของเด็กทารกมีการเรียนรู้มากกว่าการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เป็นพัน ๆ เท่า เด็กเรียนรู้ ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เกิดเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่าง ๆ อย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่ายิ่งสมองเด็กมีเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อมากเท่าไร เด็กจะยิ่งฉลาดมากขึ้นเท่านั้น สมองจะทำหน้าที่นี้ต่อไปจนถึงอายุ 10 ปี จากนั้นสมองจะเริ่มกำจัดเครือข่ายเส้นใยสมองที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไป เพื่อให้ส่วนที่เหลือมีความสามารถและมีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด
ความสำคัญสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
การคิดที่ดี ควรมีลักษณะ ลึก กว้างไกล และสร้างสรรค์ คำว่า ลึก หมายถึง สิ่งที่มิใช่เพียงสัมผัส มีความเป็นไปได้และมีความชัดเจน กว่าง เป็นการสร้างภาพที่มีมุมมองอันเกิด จากการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ อย่างรอบครอบ ไกล เป็นการมองไปข้างหน้าในระยะยาว โดยคำนึงถึงสิ่งอันพึงปรารถนา ส่วนคำว่า สร้างสรรค์ นั้น เป็นการพิจารณาเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำของมนุษย์และมีพลังอำนาจมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดเสมอ ดังนั้น บุคคลจึงไม่เพียงแต่ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งตองการให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เป็นความคิด ประดิษฐ์ หรือการทำที่แปลกใหม่ เป็นผลงานที่ริเริ่มเอง ไม่มีตัวอย่างไว้ให้มีประโยชน์มีคุณค่า
2. เป็นความคิดหรือการกระทำที่แก้ปัญหาได้ โดยสามารถมองหาทางเลือกหลายทิศหลายทางในการแก้ปัญหา
3. เป็นความคิดริเริ่มที่แสดงออกอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความคงทน และสามารถดัดแปลงพัฒนาไปจนถึงจุดที่สมบูรณ์ได้

บทบาทของผู้สอน

1. มีอารมณ์ที่แจ่มใส มีใจคิดสร้างสรรค์
2. ร่วมแก้ปัญหาและให้เวลาในการค้นหาคำตอบของผู้เรียน
3. เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการแก้ปัญหา
4. ใช้เทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว
5. ผู้เรียนมีผลงานนำไปเผยแพร่


เพลงสำหรับเด็ก

เพลง หนึ่งปีมี 12 เดือน 
หนึ่งปีนั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมี 7วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

เพลง กลองหนึ่ง-สอง
หนึ่งสอง มือตีกลอง ตะแล็ก แทร็กแทร็ก
สามสี่ ดูให้ดี
ห้าหก ส่องกระจก
เจ็ดแปด ถือปืนแฝด
เก้าสิบ กินกล้วยดิบปวดท้องร้อง โอ้ย


ต่อมาอาจารย์ให้ทำกิจกรรม 2 กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 วาดภาพต่อเติมจากเลข 1-9 


กิจกรรมที่ 2 ตัดกระดาษเป็นรูปเลขาคณิตแล้วนำมาต่อกันตามจินตนาการของเรา



🍓Assessment (การประเมิน)🍓


🌺Our self :  ตั้งใจทำงาน และทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง
🌺Friend : เพื่อนทุกคนตั้งใจ และส่งงานทันเวลาที่กำหนด
🌺Teacher : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อม เตรียมกิจกรรมต่างๆมาสอน


วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

Diary 8


Monday 3 April 2020

Time 12:30 - 15:30 o'clock


วันนี้เป็นการเรียนออนไลน์ครั้งที่ 2 
ในหัวข้อเกี่ยวกับ STEM



STEM คือ รูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็น


Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน
1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน
2. ขั้นสำรวจและการค้นหา
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมขึ้น
5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต
3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา
4. ออกแบบและปฏิบัติการ
5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด
7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ
2.หาแนวทางการแก้ปัญหา
3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา
4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics) สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์


🍓Assessment (การประเมิน)🍓

🌺Our self : ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
🌺Friend : เพื่อนทุกคนตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถาม
🌺Teacher : อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม ละเต็มที่กับการสอนจนหมดเวลา




วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

Diary 7


Monday 27 March 2020

Time 12:30 - 15:30 o'clock


ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนกประเภท
3. ทักษะการสื่อความหมาย
4. ทักษะการแสดงปริมาณ
5. ทักษะการทดลอง


แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

1. ยอมรับฟังคำถามที่แปลกใหม่ของเด็ก
2. ยอมรับความคิดและวิธีการแก้ปัญหาแปลกใหม่ที่เด็กคิด
3. แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
4. จัดโอกาสให้เด็กคิดและค้นพบโดยไม่ต้องมีการประเมินผล
5. ในการประเมินผลจะต้องให้เด็กได้ทราบเหตุและผลของการประเมินผลนั้น


การจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์

1. การให้เด็กสังเกต สิ่งที่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนอนแล้วเดินออกมาบอกครูและครูไม่ควรคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำหรือให้เด็กฝึกสังเกต โดยถามว่า ตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร
2. สร้างความชัดเจนและมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคน ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเด็กจะเรียนเร็วหรือช้าให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและสนุก
3. สื่อสารวิธีการช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยครูคอยแนะนำ เช่น บอกว่ากิจกรรมที่เด็กทำนั้นเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องอะไรและห้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมแก่เด็ก
4. ปลูกฝังและจัดประสบการณ์ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ โดยครูตั้งคำถาม เช่น ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตมันต้องการอะไรบ้างจะเริ่มคิดว่าต้นไม้ แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต ประสบการณ์การทดลองทำให้เด็กตื่นเต้นและสนใจอยากเรียนรู้และร่วมกิจกรรม
5. สร้างความมั่นใจว่าตนเองมีค่า มีความสามรถและฝึกใหเด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น สังเกตว่าทำไมไม้จึงลอยน้ำ ทำไมเกลือจึงลอยน้ำ สร้างความรู้สึกอยากค้นพบและอยากหาเหตุผล
6. สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้อื่นๆ
7. สรุปความโดยยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ ฝึกให้เด็กเก็บบันทึกข้อมูลและนำเสนอผลงานโดยวาดภาพ การบอกเล่า และการจัดแสดงผลงานเด็กมีบทบาทในการคิดริเริ่มวางแผนร่วมกับเพื่อน โดยครูจะให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อเด็กพบอุปสรรคและต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น

🍓Assessment (การประเมิน)🍓

🌺Our self : ส่งงานทันเวลา ตั้งใจฟัง
🌺Friend : ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมและรับผิดชอบต่องานที่อาจารย์สั่ง
🌺Teacher : อาจารย์มีกิจกรรมต่างๆมาให้ทำ เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี


วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

Diary 6


Monday 20 March 2020

Time 12:30 - 15:30 o'clock

สัปดาห์เป็นสัปดาห์แรกที่ได้เรียนออนไลน์ ผ่านทาง App  Zoom เนื่องจาก Covid-19 
รัฐให้หยุดการเรียนการสอนทุกสถาบัน
อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงาน ดังนี้


กิจกรรมที่ 1 นิทาน


ในสวนดอกไม้มีผีเสื้อกำลังบินหาดอกไม้เป็นอาหารบังเอิญพบดอกไม้ที่สวยงามผีเสื้อหยุดและกินน้ำหวานของดอกไม้อย่างมีความสุข ในทุก ๆ เช้าผีเสื้อจะบินไปหาดอกไม้เพื่อกินน้ำหวานเป็นอาหาร

กิจกรรมที่ 2 คำคล้องจอง


แสงไฟพราว วิบวับ​​อยู่ไกลลับ นั่นดวงดาว
ท้องฟ้าสุก สีขาว​​​รุ่งเรืองราว ทิพย์วิมาน
เมฆขาวดุจ สำลี​​​แสนสุขขี น่าอิงแอบ
ตาหลับฝัน ในห้องแคบ​​ใกล้จะแอบ ผล๋อยหลับไป


กิจกรรมที่ 3 ปริศนาคำทาย


มูมู่เป็นสิ่งมีชิวิต​​มูมู่คืออะไร
เพื่อนตอบว่า มูมู่คือสุนัขไง​​ฉันตอบว่าไม่ใช่ มูมู่ไม่ใช่สุนัข
มูมู่มีสี่ขา​​​​มูมู่คืออะไร
เพื่อนตอบว่า มูมู่คือวัวไง​​ฉันตอบว่าไม่ใช่ มูมู่ไม่ใช่วัว
มูมู่มีสี่ขา ร้องเหมียวเหมียว​​มูมู่คืออะไร
เพื่อนตอบว่า มูมู่คือแมวไง​​เพื่อนเก่งที่สุดเลย มูมู่คือแมว

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมการฟัง

ฟังซิ…เสียงอะไร    เสียงเตือนประตูปิด
ฟังซิ…นั้นเสียงของใคร     รถไฟฟ้า
ฟังซิ…มีใครบ้าง   คนขับรถไฟและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ฟังซิ…เขาบอกให้เราทำอะไร  ระวังประตูหนีบ
ฟังซิ…ถ้าได้ยินเสียงนี้เราต้องทำอย่างไร    ไม่วิ่งเข้าไปและหยุดรอ
ฟังซิ…ถ้าเราได้ยินเสียงเราจะทำอย่างไรได้บ้าง  ยืนรอต่อแถวและรอขบวนถัดไป



Assessment (การประเมิน)🍓

🌺Our self : ตั้งใจฟังและทำงาน สนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ

🌺Friend : เพื่อนทุกคนตั้งใจช่วยกันทำงานเป็นอย่างดี
🌺Teacher : อาจารย์หากิจกรรมให้ทำส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ดี ชี้แจงการส่งงานอย่างละเอียด





วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563

Diary 5


Monday 9 March 2020

Time 12:30 - 15:30 o'clock

    วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยอาจารย์เปิดเพลง พรจากฟ้าที่มีท่าทาง และให้นักศึกษาไปคิดท่าทางให้ดัดแปลงจากดพลงพรจากฟ้ามาใส่เพลง ปฐมวัยมาเเล้ว


เนื้อเพลง ปฐมวัยมาเเล้ว
ปฐมวัยมาเเล้ว มาเเล้วปฐมวัยน้องพี่
ไหน ไหน ไหน ปฐมวัยน้องพี่
ปฐมวัยน้องพี่ไม่มีราวร้าน โลหิตสายเดียวกลมเกลียวกันให้นาน
อย่าให้เเตกเเยกกันเป็นสายธาร อย่าให้เเตกเเยกกันเป็นสายธารา


กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้ลากเส้นต่อยอด
 สร้างกิจกรรมใหม่ที่เชื่อมโยงจากกิจกรรมเดิม




กิจกรรมต่อมา ให้ทำช่อง 16 ช่องแล้วระบายสีออกแบบเองยังไงก็ได้
หรืออาจใส่ลวดลายลงไปตามความคิดของเราเอง